พัฒนาการมาจากกลุ่ม วิศวกร สถาปนิก มัณฑนากร นักออกแบบ
จัดสวน ตลอด จนผู้รับเหมา ก่อสร้าง ทุกระบบ ที่มีประสบการณ
์การทำงานกว่า 20 ปี มีจุดมุ่งมั่นที่จะพัฒนาระบบการก่อสร้างบ้าน
ให้ครอบ คลุมทั่วประเทศ ไทย โดยการใช้ระบบ เครือข่าย
อินเตอร์เนตมาประกอบการปฏิบัติงานซึ่งหมายถึงการทำงานด้าน
เทคนิคทุกด้าน เช่น การออกแบบ , การ ควบคุมงาน ภาคสนาม , การบริหารงานก่อสร้าง,การจัดส่งวัสดุ ตลอดจน การประสาน
งานกับเจ้าของงานผ่านระบบอินเตอร์เนตแทบทั้งสิ้นอันเป็น
ผลทำ ให้การ ดำเนินงาน มีประสิทธิภาพมาก ยิ่งขึ้นตลอดเวลา
>>>>>>>>>>>>>>>>   

สมาชิก
user :
pass :
   
สมัครสมาชิกใหม่ที่นี้
user or password ผิด ";}?>
ยินดีต้อนรับ
คุณ
เมนูส่วนตัว
ดูข้อมูลส่วนตัว
แก้ไขข้อมูลส่วนตัว
ออกจากระบบ

Menu
เกี่ยวกับเรา
ก่อสร้าง
ซ่อมบ้าน
เปอร์สเปคทีฟ
ตกแต่งภายใน
ควบคุมงาน
ผลงาน
เว็บบอร์ด
ถาม - ตอบ
พันธมิตรธุรกิจ
แบบบ้าน
Auction loan
ให้คำปรึกษา
บทความ
วิจัยและพัฒนา
ห้องสมุด
แผนผังเว็บไซต์
ติดต่อเรา
 

Link
หนังสือพิมพ์
ธนาคาร
ส่วนราชการ

จำนวนผู้เยี่ยมชม

ตั้งแต่ 01/01/2544

ห้องสมุด
 
โครงสร้างของพื้นและบันได

 

พื้นสำเร็จรูปแบบกลวง
พื้นสำเร็จรูปแบบกลวง ( hollow core slab) เป็นพื้นคอนกรีตสำเร็จรูปอีกแบบหนึ่งซึ่งมี ลักษณะการใช้งานที่แตกต่างไปจากพื้นสำเร็จรูปแบบท้องเรียบที่กล่าวมาแล้ว กล่าวคือ พื้นชนิดนี้จะมี ช่วงความยาวที่ยาวกว่า โดยอาจมีช่วงพาดที่ยาวถึง 12 เมตรโดยไม่เกิดการแอ่นตัวและไม่ต้องใช้ไม้ค้ำยัน ชั่วคราวในการก่อสร้าง มีขนาดและความหนาให้เลือกมากกว่า สามารถรับน้ำหนักได้ดีกว่า มักใช้กับ อาคารสำนักงาน อาคารขนาดใหญ่ หรืออาคารจอดรถมากกว่าการใช้ตามอาคารบ้านเรือนทั่วไป การเทคอนกรีต ทับหน้านั้นอาจทำหรือทำก็ได้ขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์ของการใช้งาน และเนื่องจากพื้นสำเร็จรูป ชนิดนี้เป็นแบบกลวง ฉะนั้นช่องภายในที่กลวงยังสามารถใช้ประโยชน์ในการเดินสายไฟหรือท่อน้ำได้อีกด้วย
นอกจากนี้ ยังมีพื้นคอนกรีตสำเร็จรูปแบบอื่นอีก เช่น พื้นสำเร็จรูประบบคานตัวที ซึ่งประกอบ ด้วยพื้นคอนกรีตบล็อกวางบนคานคอนกรีตรูปตัว " T " พื้นสำเร็จรูปตัวยูคว่ำ เป็นต้น ซึ่งพื้น ประเภทนี้มักใช้ในอาคารขนาดใหญ่มากกว่าใช้ตามบ้านเรือนทั่วไปจึงจะไม่นำมากล่าวในที่นี้
ข้อสังเกตเกี่ยวกับพื้นสำเร็จรูปที่ใช้และกรรมวิธีในการทำ
ข้อสังเกตเกี่ยวกับพื้นสำเร็จรูปที่ใช้ในที่นี้จะเน้นกล่าวถึงพื้นสำเร็จรูปแบบแผ่นท้องเรียบ เนื่องจาก เป็นชนิดที่นิยมใช้ในอาคารบ้านเรือนเป็นส่วนใหญ่
1. ขนาดของพื้นสำเร็จรูปที่ใช้และจำนวนลวดเหล็กอัดแรงที่ฝังอยู่ภายในจะต้องเป็นไปตามแบบที่กำหนด ซึ่งแบบที่ใช้ในการปลูกสร้างบ้านหรืออาคารที่ดีควรระบุข้อมูลจำเพาะของวัสดุที่ใช้ในการทำพื้น รวมทั้งการกำหนดระยะ ขนาด และรายละเอียดของสิ่งต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องด้วย
2. พื้นสำเร็จรูปที่ใช้ควรอยู่ในสภาพที่ดี ไม่มีรอยแตกหักหรือชำรุดมาก่อนและควรได้รับการรับ รองโดยมีเครื่องหมายรับรองมาตรฐานอุตสาหกรรม ( มอก.) ประทับอยู่
3. ขนาดของเหล็กเส้นและความถี่ในการวางเหล็กเส้นที่นำมาทำตะแกรงเหล็กเสริมในการเทคอน กรีตที่เททับหน้า (concrete topping ) รวมทั้งความหนาของคอนกรีตที่เททับหน้าควรจะเป็นไปตามแบบที่กำหนด ซึ่งแบบที่ใช้ในการปลูกสร้างบ้านหรืออาคารควรระบุถึงรายละเอียดของสิ่งเหล่านี้ด้วย แต่ทั้งนี้ ตามข้อกำหนดทั่วไปของบริษัทผู้ผลิตพื้นสำเร็จรูปมักจะกำหนดขนาดของเหล็กเส้นที่ใช้ทำเป็นตะแกรงเหล็กเสริม ให้เป็นเหล็กเส้นขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 6 มิลลิเมตร โดยผูกเป็นช่องตะแกรงห่าง 25 - 30 เซนติเมตร และความหนาของคอนกรีตที่เททับหน้าจะอยู่ในช่วง 4 - 6 เซนติเมตร ขึ้นอยู่กับการใช้งานว่าต้องการให้พื้นนั้นรับน้ำหนักได้มากน้อยเพียงใด 4.การวางแผ่นพื้นสำเร็จรูปพาดกับคานควรให้มีระยะพื้นที่ยื่นเข้าไปพาดอยู่บนคานไม่น้อยกว่า 5 เซนติเมตร เพื่อให้พื้นยึดเข้ากับคานอย่างมั่งคง
5. แนวต่อของพื้นสำเร็จรูปตรงจุดที่ปลายแผ่นพื้นวางชนต่อกันอยู่บนคานควรมีเหล็กเสริมขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 6 มิลลิเมตร ยาวอย่างน้อย 60 เซนติเมตร เว้นช่วงระยะห่างประมาณ 30 เซนติเมตร เสริมตลอดแนวต่อโดยการตั้งฉากกับแนวคานเพื่อเพิ่มความแข็งแรงในการยึดเหนี่ยวและป้องกันคอนกรีตทับหน้าแตก

 
หน้า 1 หน้า 2 หน้า 3
 

หน้าแรก | เกี่ยวกับเรา | ก่อสร้าง | ซ่อมบ้าน| เปอร์สเปคทีฟ | ตกแต่งภายใน | ควบคุมงาน | สมาชิก | ผลงาน | เว็บบอร์ด | ถาม - ตอบ
พันธมิตรธุรกิจ | แบบบ้าน | Auction loan | ให้คำปรึกษา | บทความ | วิจัยและพัฒนา | ห้องสมุด | ติดต่อเรา | แผนผังเว็บไซต์

  ทะเบียนกรมพานิชย์ธุรกิจเลขที่ 0107514703428 © copyright 2005 by srangbaan.com